[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
    
 
ประวัติสถานศึกษา
             ชื่อสถานศึกษา         

                   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง   

              ที่อยู่  เลขที่ 130 หมู่ที่ 1 บ้านห้วยกาน ถนน ลำพูน-ลี้  ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 
              
รหัสไปรษณีย์
  51130              
              
โทรศัพท์  0-5355-0400  โทรสาร  0-5355-0400  
             
E-mail :  Banhong5207@gmail.com  
 

                            Website : http://  202.143.134.201/nfe_banhong/ 

 

 

                   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง

                   สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน

                   สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                   สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ                           

 ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา 

 

                     ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง ได้ประกาศจัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27  สิงหาคม 2536 มีชื่อว้า ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโฮ่ง สังกัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำพูน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้ใช้อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านโฮ่งเป็นสถานศึกษาชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่จัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ต่อมาในปี 2542 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงาน  เป็นอาคารคอนกรีต ขนาด 1 ชั้น เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและติดต่องานราชการ บนพื้นที่ราชพัสดุ  ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ. 2551 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นที่ทำการสถานศึกษาจนถึงปัจจุบัน

          อาณาเขต

          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง ที่อยู่ เลขที่ 130 หมู่ที่ บ้านห้วยกาน ถนน  ลำพูน-ลี้ 
         
ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง  จังหวัดลำพูน เป็นสถานศึกษาขนาดกลาง มีพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา  มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

                             ทิศเหนือ          ติดกับอำเภอเวียงหนองล่อง และอำเภอป่าซาง

                             ทิศใต้             ติดกับอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่  

                             ทิศตะวันออก     ติดกับอำเภอแม่ทา อำเภอป่าซาง  

                             ทิศตะวันตก      ติดกับอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่   

  

                                  อำเภอบ้านโฮ่ง เดิมมีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอป่าซาง แยกเป็นกิ่งอำเภอบ้านโฮ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2460 และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ในสมัยพระเจ้ากาวิละฟื้นฟูบ้านเมืองได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียงมาไว้ที่เมืองลำพูน โดยตั้งเมืองลำพูนขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2348 ส่วนทางเมืองยองเองเจ้านายของเมืองยองก็ไม่คิดขึ้นกับล้านนาแต่ยังยินยอมสวามิภักดิ์กับพม่าพาผู้คนจำนวนหนึ่งกลับไปตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองยองสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในการฟื้นฟูเชียงใหม่นั้นพระเจ้ากาวิละได้เทครัวคนจากเมืองอื่นๆมาหลายครั้ง สำหรับชาวยองมีการเทครัวลงมาจากเมืองยองราว พ.ศ. 2351-2353 และ พ.ศ. 2356 หลังจากนั้นก็ยังมีอีกแต่ไม่เด่นชัด  การอพยพผู้คนมายังล้านนา พวกเจ้าก็จะให้อยู่ในเมืองพร้อมไพร่ที่คอยรับใช้บางส่วน ไพร่ที่ถูกกวาดต้อนมา หากเป็นช่างฝีมือหรือไพร่ชั้นดีกำหนดให้อยู่ในเมือง เช่น กลุ่มไทยใหญ่มีฝีมือในการปั้นหม้อให้อยู่บริเวณ ช้างเผือก ช้างม่อย วัวลาย (ในตัวเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน) ส่วนไพร่ไร้ฝีมือจะให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมืองเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ยองที่ลำพูนและสันกำแพง เมื่อตั้งถิ่นฐานแล้วสักระยะหนึ่งชุมชนขยายใหญ่ขึ้นก็เกิดการกระจายตัวออกจากเวียงยองสู่ป่าซางและบ้านโฮ่ง พวกที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่จะตั้งชื่อบริเวณที่ตนมาอยู่อาศัยใหม่ตามชื่อหมู่บ้านเดิมที่ถูกกวาดต้อนลงมา แต่บางแห่งก็ตั้งชื่อตามลักษณะทางกายภาพของทำเลที่ตั้งใหม่ 
                ข้อมูลทั่วไป 

          อำเภอบ้านโฮ่ง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำพูน  ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ ห่างจากรุงเทพมหานครตามระยะทางถนนพหลโยธิน
ถึงอำเภอบ้านโฮ่ง
  ประมาณ  689 กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดลำพูน ประมาณ 40 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

                             ทิศเหนือ          ติดต่อกับอำเภอเวียงหนองล่อง

                             ทิศตะวันออก     ติดต่อกับอำเภอป่าซางและอำเภอแม่ทา

                             ทิศใต้             ติดต่อกับอำเภอทุ่งหัวช้างอำเภอลี้ และอำเภอฮอด (จังหวัดเชียงใหม่)

                             ทิศตะวันตก      ติดต่อกับอำเภอจอมทอง (จังหวัดเชียงใหม่)                       

  

          ข้อมูลการปกครอง ส่วนภูมิภาค อำเภอบ้านโฮ่งแบ่งพื้นที่ปกครองเป็น 5 ตำบล  62  หมู่บ้าน

 

1.

บ้านโฮ่ง

   

จำนวน

   

18 หมู่บ้าน

 

2.

ป่าพลู

   

จำนวน

   

14 หมู่บ้าน

 

3.

เหล่ายาว

   

จำนวน

   

13 หมู่บ้าน

 

4.

ศรีเตี้ย

   

จำนวน

   

  9 หมู่บ้าน

 

5.

หนองปลาสะวาย

   

จำนวน

   

  8 หมู่บ้าน

 

   ข้อมูลการปกครอง ส่วนท้องถิ่น

                             เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านโฮ่ง  

                             เทศบาลตำบลศรีเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีเตี้ยทั้งตำบล

                             องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโฮ่ง

                             องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพลู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าพลูทั้งตำบล

                             องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่ายาวทั้งตำบล

                             องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาสะวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาสะวายทั้งตำบล

             ประชากร

                             อำเภอบ้านโฮ่ง มีประชาชน   41,392  คน  แยกเป็น            

                             -ชาย  จำนวน  20,147  คน

                             -หญิง  จำนวน  21,245  คน (ข้อมูล ณ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2555)

           สภาพภูมิประเทศ

                    เป็นภูเขาสูงทางตอนใต้ ลาดลงไปตอนกลางและตอนเหนือยอด สูงสุดอยู่ที่ดอยช้างซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล  1,010 เมตร
                    มีแม่น้ำไหลผ่าน
3 สาย  คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำลี้ และแม่น้ำแม่ลอบสำหรับพื้นที่ป่าไม้ของอำเภอบ้านโฮ่งมีพื้นที่สำคัญได้แก่ ป่า
                    สงวนแห่งชาติป่าบ้านโฮ่งซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมเขตตำบลป่าพลู ตำบลบ้านโฮ่ง ตำบลเหล่ายาว ตำบลศรีเตี้ย และตำบลหนอง
                    ปลาสะวายอำเภอบ้านโฮ่ง

         ภูมิอากาศ

                             ฤดูร้อน            เริ่มตั้งแต่ เดือน  มีนาคม พฤษภาคม

                             ฤดูฝน             เริ่มตั้งแต่ เดือน  มิถุนายน ตุลาคม 

                             ฤดูหนาว          เริ่มตั้งแต่ เดือน  พฤศจิกายน กุมภาพันธ์    

          ทรัพยากรธรรมชาติ

          แม่น้ำลี้ ไหลผ่านกลางพื้นที่ของอำเภอ  แม่น้ำปิง ไหลผ่านจากจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านทางทิศตะวันตกของอำเภอที่ตำบล
                    หนองปลาสะวาย
        

สภาพสังคมและเศรษฐกิจ

                   พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดังนั้นประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม  มีพื้นที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก  
                  
64,903 ไร่  พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ลำไย กระเทียม หอมแดง กะหล่ำปลี  มะม่วง  ปศุสัตว์ เกษตรจะเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบของ
                   การเลี้ยงไว้เพื่อใช้งานและบริโภคเช่น โคนม โคเนื้อ กระบือ สุกร ไก่ เป็ดรายได้เฉลี่ยประชากรต่อคน
                  จำนวน 
42,306 บาท          
         
การคมนาคมขนส่ง

          อำเภอบ้านโฮ่งมีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 106  ที่สามารถใช้ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้โดยสะดวกมีถนนสายหลัก
                   ได้แก่ ถนนสายลำพูน-ลี้

การศึกษาและศาสนา

          สังกัด

จำนวนโรงเรียน (แห่ง)

โรงเรียนประถมศึกษา

30

โรงเรียนมัธยมศึกษา

2

โรงเรียนพระปริยัติธรรม

2

โรงเรียนในสังกัดเอกชน

2

วิทยาลัยการอาชีพ

1

กศน.

1

ศาสนา

                   ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  คิดเป็นร้อยละ 99  นับถือศาสนาอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 1 มีวัด จำนวน 52 แห่ง  
                   สำนักสงฆ์  จำนวน 
5 แห่ง          

          ประเพณีและวัฒนธรรม

                   ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ประเพณีแห่แค่หลวง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาใน วันเพ็ญเดือน 12 ประมาณ เดือน พฤศจิกายน ของทุกปี  ซึ่งจะจัดงานเป็นประจำทุกปีประชาชนทุกหมู่บ้านจะจัดให้มีการแห่แค่หลวงมีการประดับตกแต่งโคมไฟและลวดลายอย่างงามตาเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่ปรากกฎเหลืออยู่ที่อำเภอบ้านโฮ่งเพียงแห่งเดียวในล้านนาไทยและจะมีการจัดงานรวมกันที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านโฮ่ง ก่อนวันเพ็ญยี่เป็ง 1 วัน เนื่องจากวันเพ็ญยี่เป็งทุกหมู่บ้านจะจัดกันที่วัดทุกหมู่บ้าน

          อาณาเขต

                    พื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง มีเขตพื้นที่ให้บริการครอบคลุม
                    พื้นที่ จำนวน 5 ตำบล  62 หมู่บ้าน มีอาณาเขตดังนี้         

                   -ทิศเหนือ          ติดกับอำเภอเวียงหนองล่องและอำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน

                   -ทิศใต้              ติดกับอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

                   -ทิศตะวันออก    ติดกับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

                   -ทิศตะวันตก      ติดกับอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

          ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับที่

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

ระยะเวลา

ที่ดำรงตำแหน่ง

1.

นายวิวัฒน์ จันตระกูล

หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโฮ่ง

พ..2537 – พ.ศ.2542

2.

นางอุบลรัตน์ ศรีตันดา

ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโฮ่ง

พ..2542 – พ.ศ.2545

3.

นายทรงเดช สันติศิริ

ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโฮ่ง

พ..2545 – พ.ศ.2551

4.

นายศิริชัย โชติกมงคล

ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง

พ..2551 – พ.ศ.2553

5.

นายฉกาจ สุวรรณา

ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง

พ..2553 – พ.ศ.2554

6.

นางเดือนเพ็ญ กิ่งโก้

ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง

 พ..2554 – พ.ศ.2555

7.

นายทรงเดช สันติศิริ

ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง

 พ..2555 – ปัจจุบัน

 

 

สรุปข้อมูลของสถานศึกษา
                   อัตรากำลังบุคลากรศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

วิชาเอก

วิทยฐานะ

ป.ตรี

ป.โท

นายทรงเดช สันติศิริ

ผอ.กศน.อำเภอบ้านโฮ่ง

   ü   

 

อุตสาหกรรม

ชำนาญการพิเศษ

นางนันท์นภัส นันทะเสน

ข้าราชการครู

   ü   

 

บรรณารักษศาสตร์

ชำนาญการ

นายนิรันดร์ จุ้มฝน

พนักงานราชการ

   ü   

 

สุขศึกษา

-

นางไพรัตน์ ต๊ะอุ่น

พนักงานราชการ

   ü   

 

สังคมศึกษา

-

นายณรงค์ชัย  พัฒศิริ

ครู กศน.ตำบลเหล่ายาว

   ü   

 

อุตสาหกรรมการเกษตร

-

นายสันติกานต์ สมบัติใหม่

ครู กศน.ตำบลหนองปลาสะวาย

   ü   

 

การจัดการ

-

นายวุฒิชัย  ภิมาลย์

ครู กศน.ตำบลบ้านโฮ่ง

   ü   

 

การวัดผลประเมินผล

-

นางกัลย์สุดา สัตยเทพ

ครู กศน.ตำบลป่าพลู

   ü   

 

จิตวิทยา

-

น.ส.พัชรพรรณ ยะนะคำ

ครู กศน.ตำบลศรีเตี้ย

   ü   

 

รัฐประศาสนศาสตร์

-

น.ส.วณิชยา  พลับพลา  

บรรณารักษ์อัตรจ้าง

   ü   

 

การศึกษานอกระบบ

-

นายทวี ต๊ะอุ่น

พนักงานบริการ

 

 

ม.ศ.5

-



นางสาว อภิชดา   สมนาศักดิ์   ครูศูนย์การเรียนชุมชน     ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ   สาขาการตลาด 



ข้อมูล กศน.ตำบล  ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง

 

ลำดับที่

หัวหน้า กศน.ตำบล

สถานที่ตั้ง กศน.ตำบล

1.

นายณรงค์ชัย   พัฒศิริ

วัดทุ่งโป่ง หมู่ที่ 2 ต.เหล่ายาว อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

2.

นายสันติกานต์ สมบัติใหม่

โรงเรียนท่ากอม่วง หมู่ที่ 3 ต.หนองปลาสะวาย

3.

นายวุฒิชัย   ภิมาลย์

โรงเรียนบ้านป่าดำ หมู่ที่ 13 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน

4.

นางกัลย์สุดา สัตยเทพ

วัดทุ่งม่าน หมู่ที่ 4 ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

5.

น.ส.พัชรพรรณ ยะนะคำ

อบต.ศรีเตี้ย หมู่ที่ 9 ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              

                                                     




เข้าชม : 2997
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโฮ่ง  จังหวัดลำพูน
ถนนลำพูน-ลี้ ตำบลบ้านโฮ่ง  อำเภอบ้านโฮ่ง  จังหวัดลำพูน โทรศัพท์ 0-5355-0400 
โทรสาร  0-5355-0400  E-mail : 
Banhong5207@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   งานสารสนเทศ กศน.อำเภอบ้านโฮ่ง