ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงหนองล่อง
หมู่ที่ 6 ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน 51120
โทรศัพท์ / โทรสาร 0-5350-5007
Wiang 5212@hotmail.com.
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงหนองล่อง ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2539 ใช้ชื่อศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง ซึ่งขณะนั้นยังเป็นกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน อยู่ในสังกัด กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการโดยให้ถือว่าเป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะของการศึกษานอกระบบและอัธยาศัยเพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนผู้ด้อย/ พลาด/ ขาดโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูนโดยมี นายดำรงค์ องคะเส อาจารย์ 2 ระดับ 5 ตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ 1 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง หัวหน้าศูนย์ 1 คน ต่อมาคือ นายทรงเดช สันติศิริ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงหนองล่อง ซึ่งในขณะนั้นไม่มีอาคารสำนักงานเป็นของตนเอง แต่ใช้อาคารสาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน บ้านเวียงหนองล่อง หมู่ 6 ตำบลวังผาง เป็นอาคารที่ทำการในการให้บริการต่อมาได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่บนกิ่งอำเภอเวียงหนองล่องเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงหนองล่อง แบบอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ซึ่งมีที่ตั้งสถานที่ทำงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดือน ธันวาคม 2541 ต่อมาได้เปลี่ยนตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ 1 เป็นตำแหน่งผู้อำนวยการต่อมาเปลี่ยนเป็น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเวียงหนองล่อง และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงหนองล่อง ตามลำดับ โดยมีนายทรงเดช สันติศิริ ซึ่งย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ตั้งแต่ วันที่ 10 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงหนองล่องคือ นายอำไพ ข่าขันมะลี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลชุมชน
ข้อมูลพื้นฐานของอำเภอเวียงหนองล่อง
ด้านกายภาพ
อำเภอเวียงหนองล่อง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดลำพูน มีพื้นที่ประมาณ 34,850 ไร่ หรือ 5,576 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
แผนที่ตั้งอำเภอเวียงหนองล่อง
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลน้ำดิบ ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำลี้และแม่น้ำปิงไหลผ่าน ราษฎรส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ตามแนวที่ราบลุ่มแม่น้ำ ประมาณ 4,063 ไร่ ที่ดินสาธารณประโยชน์ 6,437 ไร่ ป่าจำแนก 546 ไร่ พื้นที่การเกษตร 23,804 ไร่
ประชากร |
ประชากรภายในอำเภอเวียงหนองล่อง 3 ตำบล |
ที่ |
ชื่อตำบล |
ประชากรทั้งหมด |
คน |
1. |
ตำบลวังผาง |
7,986 |
คน |
2. |
ตำบลหนองล่อง |
5,927 |
คน |
3. |
ตำบลหนองยวง |
3,852 |
คน |
รวม |
17,765 |
คน |
สภาพภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน และฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคม ถึงเดือน มกราคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28 องศาเชลเซียส
ด้านการปกครอง
อำเภอเวียงหนองล่องแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 3 เทศบาลตำบล ดังนี้
1. เทศบาลตำบลวังผาง มีจำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน
หมู่ที่ |
บ้าน |
จำนวนประชากร |
คน |
1. |
บ้านเหล่าแมว |
1,165 |
คน |
2. |
บ้านเหล่าปงเสือ |
841 |
คน |
3. |
บ้านร้องธาร - ท่าลี่ |
267 |
คน |
4. |
บ้านวังผาง |
730 |
คน |
5. |
บ้านดงหลวง |
1,542 |
คน |
6. |
บ้านเวียงหนองล่อง |
1,712 |
คน |
7. |
บ้านวังหมุ้น |
297 |
คน |
8. |
บ้านดงเหนือ |
437 |
คน |
9. |
บ้านกลางทุ่ง |
352 |
คน |
10. |
บ้านดงเจริญ |
643 |
คน |
รวม |
7,986 |
คน |
2. เทศบาลตำบลหนองล่อง มีจำนวนหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน
หมู่ที่ |
บ้าน |
จำนวนประชากร |
คน |
1. |
บ้านหนองล่อง |
959 |
คน |
2. |
บ้านต้นผึ้ง |
600 |
คน |
3. |
บ้านวังสะแกง |
581 |
คน |
4. |
บ้านท่าหลุก |
677 |
คน |
5. |
บ้านสันเหมือง |
507 |
คน |
6. |
บ้านท่าช้าง |
723 |
คน |
7. |
บ้านแพะใต้ |
417 |
คน |
8. |
บ้านต้นผึ้งหล่ายลี้ |
837 |
คน |
9. |
บ้านวังสะแกงใต้ |
626 |
คน |
รวม |
5,927 |
คน |
3. เทศบาลตำบลหนองยวง มีจำนวนหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน
หมู่ที่ |
บ้าน |
จำนวนประชากร |
คน |
1. |
บ้านเหล่าดู่ |
826 |
คน |
2. |
บ้านห้วยปันจ๊อย |
1,226 |
คน |
3. |
บ้านหนองยวง |
1,027 |
คน |
4. |
บ้านหัวห้วย |
209 |
คน |
5. |
บ้านล้องเครือกวาว |
675 |
คน |
รวม |
3,963 |
คน |
เป็นหมู่บ้าน อพป. จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านสันเหมือง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองล่อง และ บ้านหัวห้วย หมู่ที่ 4 ตำบลหนองยวง
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน 1 แห่ง ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้
ด้านประปา ในพื้นที่อำเภอเวียงหนองล่องมีระบบประปาหมู่บ้านครบทุก
หมู่บ้านโดยได้รับการสนับสนุนจาก อบจ. กรมโยธาธิการ
โครงการ กสช. สาธารณสุข
ด้านการสื่อสาร ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 2 แห่ง
สถานีวิทยุชุมชน จำนวน 1 แห่ง
หอกระจายข่าว จำนวน 24 แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะทุกตำบล
ด้านการคมนาคม
มีการคมนาคมทางบกเป็นหลัก มีถนนสายหลักที่สำคัญได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1031(สายสันห้างเสือ-บ้านเวียงหนองล่อง)
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1031(สายท่าลี่-บ้านม่วงโตน)
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1032(สายสบทา-ท่าลี่)
ด้านแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำสำคัญคือ
1. แม่น้ำลี้ ซึ่งมีกำเนิดจากขุนป่าแม่ลี้ ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้านหนองหลัก หมู่ที่ 8 ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง มีความยาวประมาณ 198 กิโลเมตร ไหลผ่านพื้นที่ 4 อำเภอ คืออำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอลี้อำเภอบ้านโฮ่ง และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอเวียงหนองล่อง
2. แม่น้ำปิง มีฝายวังปานกั้นลำน้ำปิง อยู่ในเขตพื้นที่บ้านท่าหลุก หมู่ 4 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง ลักษณะเป็นฝายคอนกรีต พื้นที่รับน้ำได้แก่ ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง ตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน พื้นที่เขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ รวมพื้นที่รับน้ำกว่า 4,000 ไร่
ด้านการเกษตร
ประชากรในเขตอำเภอเวียงหนองล่องปลูกพืชหลักที่สำคัญ คือ ลำไย มะม่วง มะละกอ กล้วยน้ำว้า กะหล่ำปลี ถั่วเหลือง กระเทียม หอมแบ่ง หอมแดง ข้าว ข้าวโพด
ด้านการพาณิชย์
มีลักษณะเป็นแหล่งผลิตและขนส่งไปยังจังหวัดใกล้เคียง มีแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ส่งออก และมีตลาดค้าวัวควายที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือที่บ้านเวียงหนองล่อง หมู่ 6 ตำบลวังผาง มีธนาคารพาณิชย์ 1 แห่ง คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีตู้เอ ที เอ็ม จำนวน 3 ตู้ ได้แก่ของธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธกส. )
ด้านการท่องเที่ยว
1. ฝายวังปาน ตั้งอยู่หมู่ 4 บ้านท่าหลุก ตำบลหนองล่อง เป็นฝายคอนกรีตกั้นลำน้ำปิง เป็นจุดที่ มองเห็นทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่งดงาม สายธารน้ำใส ไหลผ่านลดหลั่นเป็นระดับสวยงามและเป็น แหล่งหาซื้อปลาจากลำน้ำปิงอีกด้วย
2. ตลาดนัดบ้านเวียง เป็นตลาดนัดที่ใหญ่และคึกคักที่สุดในภาคเหนือ ไม่เฉพาะแต่เพียงการซื้อขายวัวควายเท่านั้น เป็นตลาดที่มีทั้งการซื้อขายสินค้าทางด้านการเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภคทุกอย่าง
3. อินทนนท์ริเวอร์ไซด์รีสอร์ท เป็นสถานที่พักผ่อนเอกชน จัดสร้างเป็นสถานที่อาศัยชั่วคราว เป็น สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยง ประชุมสัมมนาต่างๆ
4. ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอาชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ พื้นที่หนองปลิง บ้าน เหล่าแมว หมู่ที่ 1 ตำบลวังผาง เป็นสถานที่ฝึกวิชาชีพทางด้านการเกษตร เช่น การทำนา ปลูก ลำไย ฯลฯ โดยไม่ใช้สารเคมี
ด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
สภาพอากาศโดยทั่วไปของอำเภอเวียงหนองล่อง ไม่มีมลพิษทางอากาศ ฝนตกต้องตามฤดูกาล ไม่แห้งแล้ง เนื่องจากพื้นที่อยู่ติดกับลำน้ำปิง ลำน้ำลี้ และอยู่ใกล้ดอยอินทนนท์ ช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศ ที่หนาวเย็น
ด้านการศึกษา
อำเภอเวียงหนองล่องมีโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2 จำนวน 12 แห่งดังนี้
โรงเรียนที่ตั้งอยู่ตำบลวังผาง
1. โรงเรียนวัดบ้านเวียงหนองล่อง (ประถมศึกษา)
2. โรงเรียนวัดร้องธาร (ประถมศึกษา)
3. โรงเรียนวัดบ้านดง (โรงเรียนขยายโอกาส)
4. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลวังผาง ( ประถมศึกษา )
โรงเรียนที่ตั้งอยู่ตำบลหนองล่อง
1. โรงเรียนวัดวังสะแกง (ประถมศึกษา)
2. โรงเรียนบ้านท่าหลุก (ประถมศึกษา)
3. โรงเรียนบ้านท่าช้าง (ประถมศึกษา)
4. โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง (โรงเรียนขยายโอกาส)
โรงเรียนที่ตั้งอยู่ตำบลหนองยวง
1. โรงเรียนบ้านเหล่าดู่ (ประถมศึกษา)
2. โรงเรียนวัดหนองยวง (ประถมศึกษา)
3. โรงเรียนบ้านล้องเครือกวาว (ประถมศึกษา)
4. โรงเรียนบ้านห้วยปันจ๊อย (ประถมศึกษา)
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 1 แห่ง
1. โรงเรียนสุทธิวงศ์ศึกษา ( อนุบาล )
โรงเรียนพระปริยัติธรรม
มี 1 แห่ง คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดท่าช้าง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 6 แห่ง
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลวังผาง มีจำนวน 1 แห่ง
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองล่อง มีจำนวน 1 แห่ง
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองยวง มีจำนวน 4 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเหล่าดู่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองยวง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านล้องเครือกวาว
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยปันจ๊อย
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพสังคมโดยรวมของอำเภอเวียงหนองล่อง เป็นสังคมเกษตรชนบท มีความสงบเรียบร้อย มีวิถีชีวิตที่เคร่งครัดในประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น การแห่ไม้ค้ำโพธิ์ การสรงน้ำพระธาตุ ฯลฯ มีบางหมู่บ้านที่พูดภาษายอง
สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
1. ข้อมูลบุคลากร
ครูและบุคลากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงหนองล่อง |
ที่ |
ชื่อ - สกุล |
บรรจุ / เข้าปฏิบัติงานเมื่อ |
ตำแหน่ง |
วุฒิการศึกษา |
1. |
นายอำไพ ข่าขันมะลี |
พ.ศ.2555 |
ผู้อำนวยการ |
ค.บ คณิตศาสตร์&วัดผลการศึกษา ค.ม การบริหารการศึกษา |
2. |
นายศักดิ์สิทธิ์ จินะกาศ |
พ.ศ. 2538 |
ครูชำนาญการ |
ค.บ การประถมศึกษา |
3. |
นางสาวกาญจนา ไชยประสพ |
พ.ศ. 2549 |
ครูอาสาสมัคร |
ศษ.บ สุขศึกษา |
4. |
นางสาวสุทธิณีย์ อำไพศรี |
พ.ศ. 2553 |
ครู กศน.ตำบลวังผาง |
ศศ.บ การพัฒนาชุมชน |
5 |
นางสาวเพชรไพลิน สายพนัส |
พ.ศ. 2553 |
ครู กศน.ตำบลหนองยวง |
ค.บ การศึกษานอกระบบ |
6 |
นางสาวอมรรัตน์ ตันเส้า |
พ.ศ. 2554 |
ครู กศน.ตำบลหนองล่อง |
วท.บ สถิติ |
7 |
นายศิลปชัย ปันทะช้าง |
พ.ศ. 2554 |
บรรณารักษ์ |
ค.บ การศึกษานอกระบบ |
2. ข้อมูลผู้เรียน/ผู้รับบริการ
ตารางแสดงจำนวนผู้เรียน/ผู้รับบริการ ปีงบประมาณ 2555
กิจกรรม จำนวนผู้เรียน/ผู้รับบริการ ภาคเรียนที่ 2/54 , 1/55 |
รวม |
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ |
ชาย |
หญิง |
ชาย |
หญิง |
2/54 |
1/55 |
2/54 |
1/55 |
2/54 |
1/55 |
1. |
ระดับประถมศึกษา |
7 |
7 |
16 |
8 |
23 |
15 |
2. |
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
38 |
39 |
65 |
72 |
103 |
111 |
3. |
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
57 |
68 |
38 |
58 |
95 |
126 |
รวม |
102 |
114 |
119 |
138 |
221 |
252 |
กิจกรรม จำนวนผู้เรียน/ผู้รับบริการ |
ชาย |
หญิง |
รวม |
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ |
- |
- |
- |
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต |
21 |
101 |
122 |
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน |
8 |
54 |
62
|
การจัดการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง |
344 |
326 |
670 |
โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 51 ตำบล |
58 |
22 |
80 |
โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน |
31 |
112 |
143 |
โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ( สส. ) |
- |
80 |
80 |
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ ( ผู้สูงอายุ ) |
68 |
92 |
160 |
เข้าชม : 6360 |