ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
1. ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลี้
2. ที่ตั้ง/การติดต่อ ที่ว่าการอำเภอลี้ ( หลังเก่า ) หมู่ที่ 4 ถนนพหลโยธิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51110
โทรศัพท์ 053 – 979484 โทรสาร 053 – 979484
E-mail lee_nfe07@hotmail.com
3. สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ
4. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
4.1 ประวัติสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลี้ ตั้งอยู่ อาคารที่ว่าการอำเภอลี้ (หลังเก่า) ถนนพหลโยธิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตั้งขึ้นโดยประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวัน ที่ 27 สิงหาคม 2536 โดย ฯพณฯท่าน นายปราโมทย์ สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในประกาศจัดตั้งให้เป็นศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอลี้ ขึ้นเป็นครั้งแรก สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ โดยอาศัยอาคารโรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา (หลังเก่า) เป็นสถานที่ทำการชั่วคราว และห้องสมุดประชาชนอำเภอลี้ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลี้ อยู่ในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ถือว่าเป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะของการศึกษานอกระบบ และอัธยาศัย เพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส พลาดโอกาสและขาดโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ต่อมาในเดือนมีนาคม 2537 - กุมภาพันธ์ 2541 มีคำสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษา โดยให้นายศิริชัย โชติกมงคล เป็นหัวหน้าศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลี้ หลังจากนั้น ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาตามวาระหลายครั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา คือ นางฟ้าวณิชย์ ชลมนัสสรณ์
4.2 ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับ
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
|
1
|
นายศิริชัย โชติกมงคล
|
ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2537 - 2541
|
2
|
นายฉกาจ สุวรรณา
|
ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2541 - 2546
|
3
|
นายวิวัฒน์ จันตระกูล
|
ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2547 - 2548
|
4
|
นายฉกาจ สุวรรณา
|
ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2549 – 2553
|
5
|
นายฉกาจ สุวรรณา
|
รษ.ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2553 - 2554
|
6
|
นายฉกาจ สุวรรณา
|
ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2554 – 2558
|
7
|
นางสาวอรนีรา ปุ้มแพง
|
ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2558 – 2561
|
8
|
ว่าที่ร้อยตรีจีรชัย บูรณะฤทธิ์ทวี
|
รษ.ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2561 - 2562
|
9
|
นางพิรุณทิพย์ ทุ่งสูง
|
ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2562 - 2563
|
10
|
นางพรวิไล สาระจันทร์
|
รษ.ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2563 - 2563
|
11
|
นางฟ้าวณิชย์ ชลมนัสสรณ์
|
ผอ.กศน.อำเภอลี้
|
2563 - ปัจจุบัน
|
4.3 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน และอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก และอำเภอดอยเต่า จังหวัด เชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก
4.4 สภาพชุมชน
ลักษณะที่ตั้ง
อำเภอลี้เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดลำพูนเป็นระยะทาง 105 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 106
เนื้อที่
อำเภอลี้มีเนื้อที่ 1,702.11 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,063,743.75 ไร่
ภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง คิดเป็นร้อยละ 88 ของพื้นที่ทั้งหมด
พื้นที่
ลาดเอียงต่ำจากทิศใต้ลงไปทางทิศเหนือ ดินมีลักษณะเป็นกรวด ลูกรังส่วนใหญ่ สูงจากระดับน้ำทะเล 400 – 800 เมตร
สภาพภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุม โดยฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
ฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน
ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือน ตุลาคม - มกราคม ของทุกปี
และอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28 องศาเซลเซียส
ข้อมูลประชากร อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ที่
|
ตำบล
|
จำนวนหมู่บ้าน
|
ประชากร
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1.
|
ศรีวิชัย
|
13
|
3,898
|
3,822
|
7,720
|
|
2.
|
แม่ตืน
|
13
|
4,285
|
4,157
|
8,442
|
|
3.
|
ป่าไผ่
|
12
|
4,716
|
4,644
|
9,363
|
|
4.
|
ลี้
|
13
|
5,118
|
5,065
|
10,183
|
|
5.
|
นาทราย
|
23
|
8,711
|
8,128
|
16,839
|
|
6.
|
ดงดำ
|
6
|
1,596
|
1,496
|
3,092
|
|
7.
|
แม่ลาน
|
7
|
1,568
|
1,467
|
3,035
|
|
8.
|
ก้อ
|
4
|
1,222
|
1,220
|
2,442
|
|
รวม
|
8 ตำบล
|
99 หมู่บ้าน
|
34,338
|
33,376
|
67,714
|
|
สภาพทางการปกครอง
แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ 2457 เป็นตำบลและหมู่บ้าน ดังนี้ ประกอบด้วย 8 ตำบล 99 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน อพป. 25 หมู่บ้าน เทศบาล 5 แห่ง อบต.จำนวน 5 แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบล มี 8 แห่ง แยกเป็นหมู่บ้านในเขตตำบล ดังนี้
1. ตำบลลี้ 17 หมู่บ้าน
2. ตำบลป่าไผ่ 12 หมู่บ้าน
3. ตำบลแม่ตืน 17 หมู่บ้าน
4. ตำบลศรีวิชัย 13 หมู่บ้าน
5. ตำบลดงดำ 6 หมู่บ้าน
6. ตำบลนาทราย 23 หมู่บ้าน
7. ตำบลแม่ลาน 7 หมู่บ้าน
8. ตำบลก้อ 4 หมู่บ้าน
ด้านภาษาและศาสนา
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 99% ศาสนาอื่น ๆ 1% มีสถาบันสำหรับ องค์การทางศาสนา ดังนี้
วัด ที่พักสงฆ์ จำนวน 52 แห่ง
โบสถ์คริสต์ จำนวน 2 แห่ง
ภาษาที่ใช้
ภาษาพื้นเมือง
ภาษาปาเกอะญอ ( ชนเผ่ากะเหรี่ยง )
ด้านการคมนาคม
อำเภอลี้มีเส้นทางคมนาคม โดยมีเส้นทางติดต่อกับอำเภอและ จังหวัดอื่น ดังนี้
ถนนสายลี้ – อำเภอเมืองลำพูน ระยะทาง 105 กม.
ถนนสายลี้ – อำเภอเถิน จ.ลำปาง ระยะทาง 50 กม.
ถนนสายลี้ – (ตำบลแม่ตืน) อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 33 กม.
ถนนสายลี้ – เถิน ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ กรุงเทพ ระยะทาง 620 กม
ถนนสายลี้ – อำเภอเสริมงาม จ.ลำปาง ระยะทาง 100 กม.
ด้านการสาธารณูปโภค การสื่อสาร และโทรคมนาคม
การสาธารณูปโภค
-ประปาเทศบาล จำนวน 2 แห่ง
-ประปาหมู่บ้าน จำนวน 88 แห่ง
การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
- ไปรษณีย์ตำบล จำนวน 6 แห่ง
- บริการด้านโทรศัพท์จากชุมสายโทรศัพท์อำเภอป่าซาง มีผู้ใช้บริการ 1,850 ราย
- มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 40 แห่ง
สภาพทางเศรษฐกิจ
การเกษตรกรรม
อำเภอมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 119,547 ไร่ ครอบครัวเกษตร จำนวน 12,559 ครอบครัว สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ แยกได้ ดังนี้
ที่
|
พืชเศรษฐกิจ
|
พื้นที่ปลูก (ไร่)
|
ผลผลิตเฉลี่ย
(กก./ไร่/ปี)
|
จำนวนครัวเรือน
ที่ปลูก
|
1
2
3
4
5
6
7
8
9
|
ข้าวเหนียวตาปี
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ถั่วเหลือง
ถั่วลิสง
กระเทียม
หอมแดง
ข้าวไร่
มะม่วง
ลำไย
|
19,036
63,471
30
60
4,654
1,577
1,134
1,647
77,927
|
520
800
200
300
1,000
2,000
400
292.5
552.5
|
6,292
8,042
27
40
1,003
417
127
701
7,966
|
ด้านทางสาธารณสุข
- อำเภอลี้มีโรงพยาบาล 1 แห่ง (ขนาด 100 เตียง) สถานีอนามัย 13 แห่ง
- ศูนย์แพทย์ชุมชน จำนวน 2 แห่ง
ด้านการศึกษา
1 สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 48 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนบ้านฮ่อมต้อ 2. โรงเรียนอัยยสิริ (โรงเรียนเอกชน)
3. โรงเรียนชุมชนบ้านวังดิน 4. โรงเรียนบ้านม่วงสามปี
5. โรงเรียนบ้านนากลาง 6. โรงเรียนบ้านโฮ่ง
7. โรงเรียนบ้านปู 8. โรงเรียนบ้านปางส้าน
9. โรงเรียนบ้านบวก 10. โรงเรียนบ้านป่าคา
11. โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ 12. โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร
13. โรงเรียนบ้านผาต้าย 14. โรงเรียนบ้านแม่ลาน
15. โรงเรียนบ้านแม่กองวะ 16. โรงเรียนบ้านหนองมะล้อ ห้วยทรายขาว
17. โรงเรียนบ้านนาทราย 18. โรงเรียนบ้านฮั่ว
19. โรงเรียนบ้านผาลาด 20. โรงเรียนบ้านนาเลี่ยง
21. โรงเรียนบ้านห้วยต้ม 22. โรงเรียนบ้านแม่หว่าง
23. โรงเรียนบ้านแม่อีไฮ 24. โรงเรียนบ้านปาง
25. โรงเรียนบ้านห้วยบง 26. โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน
27. โรงเรียนบ้านแม่ป้อก 28. โรงเรียนบ้านแม่จ๋อง
29. โรงเรียนบ้านปวงคำ 30. โรงเรียนบ้านแม่เทย
31. โรงเรียนบ้านไร่ 32. โรงเรียนบ้านวงศ์ษาพัฒนา
33. โรงเรียนบ้านแม่แนต 34. โรงเรียนบ้านสันวิไล
35. โรงเรียนบ้านห้วยศาลา 36. โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืน
37. โรงเรียนบ้านวังมน 38. โรงเรียนบ้านสันป่าสัก
39. โรงเรียนบ้านดงสักงาม 40. โรงเรียนบ้านป่าจี้
41. โรงเรียนบ้านห้วยแหน 42. โรงเรียนบ้านหล่ายท่า
43. โรงเรียนชุมชนบ้านป่าไผ่ 44. โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา
45.โรงเรียนแม่ตืนวิทยา 46. โรงเรียนพระปริยัติธรรม
47. โรงเรียนพระปริยัติธรรม 48. วัดพระธาตุห้าดวง
พระชัยยวงศาพัฒนา
สถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนนาทรายวิทยาคม
สถาบันระดับอุดมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน (ศูนย์อำเภอลี้ ณ วัดหล่ายหิน )
สถานศึกษาและแหล่งการเรียนรู้ในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้แก่
1. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลี้ จำนวน 1 แห่ง
2. ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล จำนวน 8 แห่ง
3. ห้องสมุดประชาชนอำเภอลี้ จำนวน 1 แห่ง
ด้านวัฒนธรรม
1 ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
- ประเพณีสลากภัต
- ประเพณีปอยหลวง
- การทอผ้าท้องถิ่น
- ประเพณีสงกรานต์
2 โบราณสถาน
1. วัดบ้านปาง ตั้งอยู่บนถนนสายลี้ - ลำพูน บ้านปาง ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
2. วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
3. วัดพระธาตุดวงเดียว ตั้งอยู่บนถนนสายลี้ - เถิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
4. วัดพระพุทธบาทผาหนาม ตั้งอยู่บนถนนสายลี้ - ลำพูน บ้านผาหนาม ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
5. วัดพระธาตุห้าดวง ตั้งอยู่บนถนนสายลี้ - เถิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
6. วัดลี้หลวง ตั้งอยู่บ้านลี้หลวง หมู่ 6 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
7. วัดหลวงเก่า ตั้งอยู่บ้านฮ่อมต้อ หมู่ 5 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
การท่องเที่ยว
อำเภอลี้ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ
1. อุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่ 1,003 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประชาชนในอำเภอลี้
2. วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่ที่บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาและเป็นที่นับถือสักการบูชาของชาวอำเภอลี้ เพราะ วัดแห่งนี้ถือกำเนิด โดยพระครูชัยยะวงศ์ษาพัฒนา(ครูบาวงศ์)ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนชาวล้านนาต่างให้ความเคารพบูชา
3. วัดบ้านปาง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน เป็นวัดที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวอำเภอลี้ เพราะเป็นวัดของนักบุญล้านนาที่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศรู้จักและให้ความเคารพบูชา คือพระครูบาเจ้าศรีวิชัย
4. วัดพระพุทธบาทผาหนาม ตั้งอยู่บ้านผาหนาม ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวอำเภอลี้ เป็นถิ่นพำนักของพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี พุทธศาสนิกชนต่างให้ความเคารพบูชา
5. น้ำตกก้อหลวง และน้ำตกก้อน้อย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน มีน้ำตกหินปูนที่สวยงามมีแอ่งน้ำที่มีสีเขียวใสเหมือนมรกต เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว
6. เรือนแพก้อ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้รับความนิยมมากในหมู่นักท่องเที่ยวบางครั้งอาจทำกิจกรรมเล่นน้ำและตกปลาไปด้วย
7. วัดพระธาตุห้าดวง (เวียงเจดีย์ห้าองค์) ตั้งอยู่ที่ตำบลลี้ สามารถเดินทางไปตามทางหลวง หมายเลข 106 ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ประมาณ 2 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณ เวียงเก่าลี้ เพราะมีซากกำแพงและคูเมือง ตั้งเป็นแถว วัดนี้เป็นที่ตั้งของหมู่เจดีย์ 5 องค์ ตามตำนานกล่าวว่าพระนางเจ้าจามเทวี กษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชย ได้ยินข่าวจากราษฎรเมืองลี้ว่ามีดวงแก้ว 5 ดวง ปรากฏเห็นอยู่บ่อยครั้ง จึงได้เสด็จมาดูด้วยพระองค์เอง เวลากลางคืนจึงได้ทอดพระเนตร เห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้ง 5 ดวง ลอยอยู่บนกองดิน 5 กอง จึงได้ สอบถามความเป็นมาก็ทราบว่า คือพระเมโตธาตุ (น้ำไคลมือ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยล้างพระหัตถ์ และน้ำก็ไหลผ่านปลายนิ้วทั้ง 5 ลงพื้นดิน พระนางจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบกองดินทั้ง 5 กองไว้ และในวันที่ 20 เมษายน ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุห้าดวง
เข้าชม : 3936 |